วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทความ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย – สร้างคนตั้งแต่วัยอนุบาล

     

วิทยาศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐาน ที่สามารถต่อยอดและสร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ได้ ในทุกสาขาวิชา เเละส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นเหตุ​ เป็นผล​ รู้จักการตั้งคำถาม​ ค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง​ ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นในการป้องกัน​ การเเก้ปัญหา​ เเละการมีความคิดที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ การมีทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน




สรุปตัวอย่างการสอน (หยดน้ำ) " น้ำเดินได้​ Walking water " (หยดน้ำ)



ตัวอย่างการสอน (หยดน้ำ) " น้ำเดินได้​ Walking water " (หยดน้ำ)

อุปกรณ์

  1. สีผสมอาหาร​ ดังนี้​ สีเเดงสีเหลือง สีน้ำเงิน​ (แม่สี)
  2. กระดาษทิชชู่
  3. เเก้วน้ำ (แบบใส)
  4. น้ำ





ขั้นตอนการทดลอง


  1. นำแก้วที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาเรียงเเถวต่อกัน
  2. เทน้ำลงไปในเเก้ว เทเเก้วเว้นเเก้ว
  3. นำสีผสมอาหารมาใส่ลงในเเก้วที่ใส่น้ำไว้
  4. นำกระดาษทิชชู่มาม้วนทำเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเเก้วที่ติดกัน









ประโยชน์ที่ได้รับ


  1. ส่งเสริมทักษะด้านการคิด​การวิเคราะห์​ การจินตนาการ การตั้งคำถาม​ เเละการหาคำตอบ
  2. ช่วยฝึกฝนทักษะในด้านการสังเกต การจำแนก​ การผสมสีประเภทของสี






สรุปวิจัย ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล



EFFECTS OF SCIENCE EXPERIENCES BY USING THE INQUIRY CYCLE ON SCIENCE PROCESS SKILLS OF KINDERGARTENERS


   

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 4 ทักษะ ได้แก่ 

  • ทักษะการสังเกต  
  • ทักษะการจำแนก  
  • ทักษะการวัด 
  • ทักษะการสื่อความหมาย 
     
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยวิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติจำนวน 32 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01





Diary No.​15 Friday, 23 November 2018 Time 08.30-12.30 AM




Knowledge summary

          วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน​ อาจารย์ได้สรุปความรู้ที่ได้รับในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้บอกแนวข้อสอบปลายภาคให้นักศึกษา ทำคลิปวิดีโอ นำเสนอฐานกิจกรรมกลุ่มของตนเองที่ นำไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม




สื่อ​ Mini Kitchen เป็นสื่อที่นำมาบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัยได้
ในเรื่องของการทำการทดลองทำอาหารในมุมบทบาทสมมุติที่ให้เด็กได้เล่นเเละส่งเสริมให้เด็กกล้าเเสดงออกมากขึ้น​ ส่งเสริมด้านจินตนาการของเด็กเพิ่มมากขึ้น






















Teaching​ Methodes (วิธีการสอน)

      นักศึกษาได้นำกิจกรรมฐานน้ำนิ่งไหลลึกไปจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรทชภัฏจันทรเกษม

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)​

         การนำความรู้เเละทักษะไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย การทำขั้นตอนการจัดกิจกรรม ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

Assessment (ประเมิน)

Self : (ตนเอง) ​ได้ประสบการณ์เเละทักษะในการนำกิจกรรมไปจัดให้กับเด็กๆค่ะ

Friend : (เพื่อน) มีความสุขกับการจัดกิจกรรมให้กับเด็กค่ะ

Teacher : (อาจารย์) ​ให้คำเเนะนำเเละขั้นตอนการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ






Diary No.​14 Friday, 16​ November 2018 Time 08.30-12.30 AM





Knowledge summary
 
          อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ เเละเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจพร้อมระบุเนื้อหารายละเอียดที่สอน ในเรื่องอะไรบ้างทำเป็นmind​ map อาจารย์ให้จับกลุ่ม​ 4​-5 คน​ เเละเลือกแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนในกลุ่มมา 1 หัวข้อ นำมาเขียนเเผนตามที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อที่ได้รับ กลุ่มของดิฉันเลือก เรื่อง"สายพันธ์ุผีเสื้อ"
































แผนที่​ 1​ (วันจันทร์) วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เด็ก
  1. รู้จักสายพันธ์ุของผีเสื้อ
  2. เเยกแยะสายพันธุ์ของผีเสื้อ
  3. สามารถตอบคำถามได้

สาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ : ด้านร่างกาย

  •  การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

ด้านอารมณ์ - จิตใจ

  • การร่วมสนทนาเรื่องสายพันธุ์ของผีเสื้อ
  • การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตน

ด้านสังคม

  • การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
  • การร่วมกันสนทนาเเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น​ 
  • การเล่นเเละทำงาร่วมกันกับผู้อื่น

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละการปฏิบัตตามคำเเนะนำ
  • การคัดเเยก​ การจัดกลุ่ม​ เเละการจำเเนกสิ่งต่างๆตามลักษณะ การพูดแสดงความคิดเห็น​ ความรู้สึก​ และความต้องการ

สาระที่ควรรู้ : สายพันธุ์ของผีเสื้อ

กิจกรรมการเรียนรู้ : ขั้นนำ

1.  ครูสนทนากับเด็กเรื่องสายพันธุ์ของผีเสื้อ​ โดยมีภาพผีเสื้อกลางวันเเละผีเสื้อกลางคืนถามเด็กๆว่า

" เด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรบ้าง "

" เด็กๆเคยเห็นผีเสื้ออะไรบ้าง "

" เด็กๆคิดว่าผีเสื้อมีลักษณะแบบไหนบ้าง "

ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.  ครูสอนเด็กๆเกี่ยวกับสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน​ โดยใช้ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละผีเสื้อกลางคืนว่าเเตกต่างกันอย่างไรเเล้วสนทนาร่วมกับเด็กๆ

3.  ครูใช้เกมการจัดหมวดหมู่สายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ผีเสื้อกลางคืนโดยครูสาธิตการเล่นเกมให้เด็กๆออกมาหยิบภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืนนำมาจัดหมวดหมู่

ขั้นสรุป

4.  ครูทบทวนความรู้เเละสรุปความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน
สื่อ

  • ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวัน
  • ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน
  • เกมการจัดหมวดหมู่สายพันธุ์ของผีเสื้อ

การวัดเเละการประเมินผล

  • การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของเด็ก
  • เด็กสามารถเข้าใจเเละตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
  • เด็กเล่นเกมการจัดหมวดหมู่ ของสายพันธุ์ผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ผีเสื้อกลางคืนได้

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันอังคาร) จุดประสงค์

  1. เด็กสามารถฟังเเละตอบคำถามได้
  2. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
  3. เด็กสามารถบอกรูปร่างลักษณะของผีเสื้อ

สาระการเรียนรู้ผีเสื้อมีลักษณะอย่างไรบ้างประสบการณ์สำคัญด้านร่างกาย

  • การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
  • การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธุ์ของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่​ การจับ

ด้านอารมณ์-จิตใจ

  • การฟังเพลง​ การร้องเพลง
  • การเล่นกลุ่มย่อย

ด้านสังคม

  • การเล่นเเละการทำงานร่วมกลุ่มกับผู้อื่น

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละปฏิบัติตามคำเเนะนำ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

  1. ครูเเละเด็กร่วมร้องเพลง​ ผีเสื้อ​ 2-3 รอบ​ พร้อมสาธิตการทำท่าทางประกอบขั้นสอน
  2. ครูสนทนาพูดคุยกับเด็กเเละครูนำรูปภาพผีเสื้อว่าเป็นอย่างไรเเตกต่างกันอย่างไร เด็กๆชอบผีเสื้อเเบบไหนมากกว่ากัน​ จากนั้นให้เด็กเล่นเกมต่อจิ๊กซอร์ รูปผีเสื้อกลางวัน เเละผีเสื้อกลางคืนโดยให้เเบ่งกลุ่ม​ กลุ่มละ​ 5​ คน​ กลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนให้ยกมือเเละปรบมือ

ขั้นสรุป


  1. รูเเละเด็กร่วมกันสรุปความรู้

4.  ครูเเละเด็กเเลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนสื่อ

  1. รูปภาพผีเสื้อ
  2. เกมต่อจิ๊กซอว์

การวัดเเละประเมินผล


  • เด็กสามารเเสดงความคิดเห็นเเละตอบคำถามได้
  • เด็กสามารถเเสดงความรู้สึกผ่าการการพูด
  • เด็กสามารถต่อจิ๊กซอว์ได้สำเร็จ

แผนที่​ 3​ การดำเนินชีวิต(วันพุธ) วัตถุประสงค์:เพื่อให้เด็ก

  1. บอกวงจรชีวิตของผีเสื้อได้
  2. มีมารยาทในการฟัง การพูด

3.  สามารถท่องคำคล้องจองเเละทำท่าประกอบคำคล้องจองได้สาระการเรียนรู้ ผีเสื้อชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีต้นไม้​ ดอกไม้​ ผีเสื้อเกิดจากไข่กลายเป็นหนอนจากหนอนเป็นดักเเด้พอถึงเวลากลายเป็นผีเสื้อประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

  • การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

ด้านอารมณ์-จิตใจ
  • การเเสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

ด้านสังคม

  • การเป็นผู้นำ​ และผู้ตาม

ด้านสติปัญญา

  • การท่องคำคล้องจอง​ วงจรชีวิตของผีเสื้อตามครูได้
  • การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

  1. ครูเเละเด็กท่องคำคล้องจอง​ ตามครูทีละวรรค​ เเละทำท่าทางฝ่ามือหงาย​ นิ้วโป้งเกี่ยวกันเเล้วขยับนิ้วเหมือนปีกเเล้วให้เด็กทำตามพร้อมกับท่องคำคล้องจองวงขรผีเสื้อได้ประกอบกับการทำท่าทางโดยให้เด็กท่องซ้ำๆ​ 2​ รอบ 
ขั้นดำเนินกิจกรรม
  1. ครูเเละเด็กร่วมกันสนทนาถึงความหมายคำคล้องจอง"วงจรชีวิตของผีเสื้อ"
  2. ครูให้เด็กดูภาพวงจรชีวิตของผีเสื้อพร้อมทั้งสนทนาร่วมกันถึงวงจรชีวิตของผีเสื้อในระยะต่างๆ

ขั้นสรุป

4.เด็กเเละครูร่วมกันสรุปวงจรชีวิตของผีเสื้อและท่องคำคล้องจองร่วมกันสื่อการเรียนรู้

  • ภาพวงจรชีวิตผีเสื้อ
  • คำคล้องจอง"วงจรชีวิตผีเสื้อ"
  • ภาพป็อบอัพผีเสื้อ

การประเมินผล

  1. สังเกตการบอกวงจรชีวิตของผีเสื้อ
  2. สังเกตการมีมารยาทในการฟังและการพูด

แผนที่​ 5​ การจัดประสบการณ์ข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อ วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เด็ก

  1. สามารถบอกข้อควรระวังของผีเสื้อได้
  2. สามารถโต้ตอบคำถามได้
  3. สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

สาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ ด้านร่างกาย

  • การฟังนิทานเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับการป้องกันเเละรักษาความปลอดภัย

ด้านอารมณ์-จิตใจ

  • การร่วมสนทนาและเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
  • การปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตนเอง

ด้านสังคม

  • การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  • การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละปฏิบัติตามคำเเนะนำ
  • บอกข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

1.  ครูถามปริศนาคำทายอะไรเอ่ยชื่อเหมือนคนตาย​ มีปีก​ บินได้​ หากินกับดอกไม้​ เเล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ

ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.  ครูเเละเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อว่ามีอะไรบ้าง​ โดยมีรูปภาพประกอบของผีเสื้อมาให้เด็กดู

3.  ร่วมกันเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าข้อควรระวังของผีเสื้อ​ นอกจากที่ครูบอกแล้ว มีอะไรบ้าง

4.  เด็กอาสาออกมาบอกข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อให้เพื่อนฟัง

ขั้นสรุป

5.  เด็กเเละครูร่วมกันสรุปข้อควรระวังของผีเสื้อสื่อ

  1. บัตรภาพผีเสื้อ
  2. ปริศนาคำทายเรื่องผีเสื้อ

การวัดเเละประเมินผล
  1. เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของผีเสื้อได้
  2. เด็กสามารถโต้ตอบคำถามได้
  3. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับอื่นได้


 Teaching​ Methodes  (วิธีการสอน)

นักศึกษาได้เขียนเเผนการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
มีการคิดที่มีขั้นตอน

Aply  (นำไปประยุกต์ใช้)​  

  การนำความรู้เเละทักษะด้านการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

Assessment (ประเมิน)

Self : (ตนเอง) เข้าเรียนตรงเวลาเเละตั้งใจเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ค่ะ

Friend : (เพื่อน)​ มีความสุขกับการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ได้ฝึกคิดร่วมกันค่ะ

Teacher : (อาจารย์) ​อธิบายเกี่ยวกับการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ




วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Diary No.​13 Friday, 9​ November 2018 Time 08.30-12.30 AM





Knowledge summary

   อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอ เรื่อง​ "ความลับของเเสง" ภายในคลิปวิดีโอมีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมด้านวิชาวิทยาศาสตร์​

1.  คุณสมบัติของเเสงที่สำคัญดังนี้

  • เดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear proagation)
  • การหักเห (Refraction)
  • การกระจาย (Dispersion)

คุณสมบัติของเเสง




2.  การหักเหของเเสง(Refraction) หมายถึง​ การที่เเสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่ง ไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้เเนวลำเเสงเกิดการเบี่ยงเบนไปจากเเนวเดิม


การหักเหของเเสง


3.  การเกิดเงา คือ​ เมื่อเเสงตกกระทบวัตถุทึบเเสง​เเสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ​ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่เเสงไม่ได้ตกกระทบ


การเกิดเงา



4.  การเกิดรุ้งกินน้ำ คือ​ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำผน้าที่ปริซึมหักเหเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นเเถบสีบนท้องฟ้าเรียกว่า "การกระจายเเสง"

  • สีของรุ้งกินน้ำมีดังนี้
  • สีม่วง
  • สีคราม
  • สีน้ำเงิน
  • สีเขียว
  • สีเหลือง
  • สีเเสด
  • สีเเดง
การเกิดรุ้งกินน้ำ


5.  วัตถุที่เเสงตกกระทบ คือ​ เมื่อแสงเคลื่อนที่ ผ่านกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นเป็นลำแสงเส้นตรง และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้ วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ เป็นต้น ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น

6.  กล้องรูเข็ม ( pinhole camera) คืออุปกรณ์ที่ใช้บันทึกภาพด้วยการปล่อยให้แสงจากวัตถุฉาย ผ่านรูขนาดเล็กให้ตกลงบนแผ่นฟิล์มไวแสง กล้องรูเข็มไม่มีเลนส์เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นกล้องรูเข็มจึงเป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด


กล้องรูเข็ม





Teaching​ Methodes (วิธีการสอน)

           👉  นักศึกษาได้วิเคราะห์การดูคลิปวิดีโอ เรื่องความลับของเเสง เเละมีการคิดวิเคราะห์ตาม

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)​

              👉  การนำความรู้เเละทักษะจากการดูคลิปวิดีโอนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย

Assessment (ประเมิน)

Self : (ตนเอง)เข้าเรียนตรงเวลาเเละตั้งใจฟังเเละดูคลิปวิดีโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้นักศึกษาได้วิเคราะห์อย่างตั้งใจค่ะ

Friend : (เพื่อน)​ มีความสุขกับการดูคลิปวิดีโอค่ะ

Teacher : (อาจารย์)อธิบายเกี่ยวกับคลิปวิดีโอเรื่อง​ ความลับของเเสง​ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ



Diary No.​12 Friday, 26 November 2018 Time 08.30-12.30 AM





Knowledge summary

   อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอคลิปวิดีโอที่นำเสนอเป็นฐาน​ น้ำนิ่งไหลลึกที่จำนำไปที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม






























Teaching​ Methodes (วิธีการสอน)

        👉  นักศึกษาได้วิเคราะห์การดูคลิปวิดีโอเเละนำคำเเนะนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์มากขึ้น

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)​  

       👉 การนำความรู้เเละทักษะไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย การทำขั้นตอนการจัดกิจกรรมให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

Assessment (ประเมิน)

Self : (ตนเอง)เข้าเรียนตรงเวลาเเละตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอการทดลองค่ะ

Friend : (เพื่อน)มีความสุขกับการฟังเพื่อนนำเสนอการทดลองค่ะ

Teacher : (อาจารย์)อธิบายเกี่ยวกับการทดลองเเละให้คำเเนะนำในการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ 





สรุปบทความ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย – สร้างคนตั้งแต่วัยอนุบาล

      วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้พื้นฐาน ที่สามารถต่อยอดและสร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ได้ ในทุกสาขาวิชา  เเละส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นเหตุ​ เป็นผล...