วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Diary No.​14 Friday, 16​ November 2018 Time 08.30-12.30 AM





Knowledge summary
 
          อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ เเละเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจพร้อมระบุเนื้อหารายละเอียดที่สอน ในเรื่องอะไรบ้างทำเป็นmind​ map อาจารย์ให้จับกลุ่ม​ 4​-5 คน​ เเละเลือกแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนในกลุ่มมา 1 หัวข้อ นำมาเขียนเเผนตามที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อที่ได้รับ กลุ่มของดิฉันเลือก เรื่อง"สายพันธ์ุผีเสื้อ"
































แผนที่​ 1​ (วันจันทร์) วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เด็ก
  1. รู้จักสายพันธ์ุของผีเสื้อ
  2. เเยกแยะสายพันธุ์ของผีเสื้อ
  3. สามารถตอบคำถามได้

สาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ : ด้านร่างกาย

  •  การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

ด้านอารมณ์ - จิตใจ

  • การร่วมสนทนาเรื่องสายพันธุ์ของผีเสื้อ
  • การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตน

ด้านสังคม

  • การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
  • การร่วมกันสนทนาเเละเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น​ 
  • การเล่นเเละทำงาร่วมกันกับผู้อื่น

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละการปฏิบัตตามคำเเนะนำ
  • การคัดเเยก​ การจัดกลุ่ม​ เเละการจำเเนกสิ่งต่างๆตามลักษณะ การพูดแสดงความคิดเห็น​ ความรู้สึก​ และความต้องการ

สาระที่ควรรู้ : สายพันธุ์ของผีเสื้อ

กิจกรรมการเรียนรู้ : ขั้นนำ

1.  ครูสนทนากับเด็กเรื่องสายพันธุ์ของผีเสื้อ​ โดยมีภาพผีเสื้อกลางวันเเละผีเสื้อกลางคืนถามเด็กๆว่า

" เด็กๆรู้จักผีเสื้ออะไรบ้าง "

" เด็กๆเคยเห็นผีเสื้ออะไรบ้าง "

" เด็กๆคิดว่าผีเสื้อมีลักษณะแบบไหนบ้าง "

ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.  ครูสอนเด็กๆเกี่ยวกับสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน​ โดยใช้ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละผีเสื้อกลางคืนว่าเเตกต่างกันอย่างไรเเล้วสนทนาร่วมกับเด็กๆ

3.  ครูใช้เกมการจัดหมวดหมู่สายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ผีเสื้อกลางคืนโดยครูสาธิตการเล่นเกมให้เด็กๆออกมาหยิบภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืนนำมาจัดหมวดหมู่

ขั้นสรุป

4.  ครูทบทวนความรู้เเละสรุปความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน
สื่อ

  • ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวัน
  • ภาพสายพันธุ์ของผีเสื้อกลางคืน
  • เกมการจัดหมวดหมู่สายพันธุ์ของผีเสื้อ

การวัดเเละการประเมินผล

  • การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของเด็ก
  • เด็กสามารถเข้าใจเเละตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
  • เด็กเล่นเกมการจัดหมวดหมู่ ของสายพันธุ์ผีเสื้อกลางวันเเละสายพันธุ์ผีเสื้อกลางคืนได้

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันอังคาร) จุดประสงค์

  1. เด็กสามารถฟังเเละตอบคำถามได้
  2. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
  3. เด็กสามารถบอกรูปร่างลักษณะของผีเสื้อ

สาระการเรียนรู้ผีเสื้อมีลักษณะอย่างไรบ้างประสบการณ์สำคัญด้านร่างกาย

  • การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
  • การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธุ์ของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่​ การจับ

ด้านอารมณ์-จิตใจ

  • การฟังเพลง​ การร้องเพลง
  • การเล่นกลุ่มย่อย

ด้านสังคม

  • การเล่นเเละการทำงานร่วมกลุ่มกับผู้อื่น

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละปฏิบัติตามคำเเนะนำ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

  1. ครูเเละเด็กร่วมร้องเพลง​ ผีเสื้อ​ 2-3 รอบ​ พร้อมสาธิตการทำท่าทางประกอบขั้นสอน
  2. ครูสนทนาพูดคุยกับเด็กเเละครูนำรูปภาพผีเสื้อว่าเป็นอย่างไรเเตกต่างกันอย่างไร เด็กๆชอบผีเสื้อเเบบไหนมากกว่ากัน​ จากนั้นให้เด็กเล่นเกมต่อจิ๊กซอร์ รูปผีเสื้อกลางวัน เเละผีเสื้อกลางคืนโดยให้เเบ่งกลุ่ม​ กลุ่มละ​ 5​ คน​ กลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนให้ยกมือเเละปรบมือ

ขั้นสรุป


  1. รูเเละเด็กร่วมกันสรุปความรู้

4.  ครูเเละเด็กเเลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนสื่อ

  1. รูปภาพผีเสื้อ
  2. เกมต่อจิ๊กซอว์

การวัดเเละประเมินผล


  • เด็กสามารเเสดงความคิดเห็นเเละตอบคำถามได้
  • เด็กสามารถเเสดงความรู้สึกผ่าการการพูด
  • เด็กสามารถต่อจิ๊กซอว์ได้สำเร็จ

แผนที่​ 3​ การดำเนินชีวิต(วันพุธ) วัตถุประสงค์:เพื่อให้เด็ก

  1. บอกวงจรชีวิตของผีเสื้อได้
  2. มีมารยาทในการฟัง การพูด

3.  สามารถท่องคำคล้องจองเเละทำท่าประกอบคำคล้องจองได้สาระการเรียนรู้ ผีเสื้อชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีต้นไม้​ ดอกไม้​ ผีเสื้อเกิดจากไข่กลายเป็นหนอนจากหนอนเป็นดักเเด้พอถึงเวลากลายเป็นผีเสื้อประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

  • การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

ด้านอารมณ์-จิตใจ
  • การเเสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

ด้านสังคม

  • การเป็นผู้นำ​ และผู้ตาม

ด้านสติปัญญา

  • การท่องคำคล้องจอง​ วงจรชีวิตของผีเสื้อตามครูได้
  • การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

  1. ครูเเละเด็กท่องคำคล้องจอง​ ตามครูทีละวรรค​ เเละทำท่าทางฝ่ามือหงาย​ นิ้วโป้งเกี่ยวกันเเล้วขยับนิ้วเหมือนปีกเเล้วให้เด็กทำตามพร้อมกับท่องคำคล้องจองวงขรผีเสื้อได้ประกอบกับการทำท่าทางโดยให้เด็กท่องซ้ำๆ​ 2​ รอบ 
ขั้นดำเนินกิจกรรม
  1. ครูเเละเด็กร่วมกันสนทนาถึงความหมายคำคล้องจอง"วงจรชีวิตของผีเสื้อ"
  2. ครูให้เด็กดูภาพวงจรชีวิตของผีเสื้อพร้อมทั้งสนทนาร่วมกันถึงวงจรชีวิตของผีเสื้อในระยะต่างๆ

ขั้นสรุป

4.เด็กเเละครูร่วมกันสรุปวงจรชีวิตของผีเสื้อและท่องคำคล้องจองร่วมกันสื่อการเรียนรู้

  • ภาพวงจรชีวิตผีเสื้อ
  • คำคล้องจอง"วงจรชีวิตผีเสื้อ"
  • ภาพป็อบอัพผีเสื้อ

การประเมินผล

  1. สังเกตการบอกวงจรชีวิตของผีเสื้อ
  2. สังเกตการมีมารยาทในการฟังและการพูด

แผนที่​ 5​ การจัดประสบการณ์ข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อ วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เด็ก

  1. สามารถบอกข้อควรระวังของผีเสื้อได้
  2. สามารถโต้ตอบคำถามได้
  3. สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

สาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ ด้านร่างกาย

  • การฟังนิทานเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับการป้องกันเเละรักษาความปลอดภัย

ด้านอารมณ์-จิตใจ

  • การร่วมสนทนาและเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
  • การปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตนเอง

ด้านสังคม

  • การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  • การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

ด้านสติปัญญา

  • การฟังเเละปฏิบัติตามคำเเนะนำ
  • บอกข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อ

กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ

1.  ครูถามปริศนาคำทายอะไรเอ่ยชื่อเหมือนคนตาย​ มีปีก​ บินได้​ หากินกับดอกไม้​ เเล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ

ขั้นดำเนินกิจกรรม

2.  ครูเเละเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อว่ามีอะไรบ้าง​ โดยมีรูปภาพประกอบของผีเสื้อมาให้เด็กดู

3.  ร่วมกันเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าข้อควรระวังของผีเสื้อ​ นอกจากที่ครูบอกแล้ว มีอะไรบ้าง

4.  เด็กอาสาออกมาบอกข้อควรระวังเกี่ยวกับผีเสื้อให้เพื่อนฟัง

ขั้นสรุป

5.  เด็กเเละครูร่วมกันสรุปข้อควรระวังของผีเสื้อสื่อ

  1. บัตรภาพผีเสื้อ
  2. ปริศนาคำทายเรื่องผีเสื้อ

การวัดเเละประเมินผล
  1. เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของผีเสื้อได้
  2. เด็กสามารถโต้ตอบคำถามได้
  3. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับอื่นได้


 Teaching​ Methodes  (วิธีการสอน)

นักศึกษาได้เขียนเเผนการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์
มีการคิดที่มีขั้นตอน

Aply  (นำไปประยุกต์ใช้)​  

  การนำความรู้เเละทักษะด้านการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

Assessment (ประเมิน)

Self : (ตนเอง) เข้าเรียนตรงเวลาเเละตั้งใจเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ค่ะ

Friend : (เพื่อน)​ มีความสุขกับการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ได้ฝึกคิดร่วมกันค่ะ

Teacher : (อาจารย์) ​อธิบายเกี่ยวกับการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปบทความ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย – สร้างคนตั้งแต่วัยอนุบาล

      วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้พื้นฐาน ที่สามารถต่อยอดและสร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ได้ ในทุกสาขาวิชา  เเละส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นเหตุ​ เป็นผล...